• Uncategorized

อันตรายจากการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ

w_hard

แพทย์เชื่อว่า อาการเลือดจับตัวเป็นก้อนลิ่มในเส้นเลือดของผู้ป่วยรายหนึ่ง สาเหตุมาจากการที่ใช้เวลานั่งทำงานอย่างต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยที่ไม่ได้มีการขยับร่างกาย หรือลุกออกไปไหนเลย มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำให้คุณตายได้ ซึ่งเราไม่ได้กำลังพูดถึงนักเล่นเกมที่ตายหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากอดอาหารและน้ำต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวันแต่หมายถึงใครก็ตามที่จะได้รับผลกระทบจากการใช้เวลาหลายชั่วโมงอยู่กับโต๊ะ คอมพิวเตอร์

นักวิจัยที่ประเทศนิวซีแลนด์พบว่าการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง อาจทำให้เลือดแข็งตัวเป็นก้อนลิ่ม เป็นอันตรายถึงตายได้ ลักษณะคล้าย ๆ กับการเกิดอาการที่เรียกว่า DVT (Deep Vein Thrombosis) ซึ่งเกิดจากการนั่งเครื่องบินในระยะทางไกล ๆ โดยเฉพาะชั้นที่นั่งราคาประหยัด บางทีจึงเรียกอาการนี้ว่า “economy-class sysdrome” ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ถูกค้นพบโดยนักวิจัยที่ได้ข้อมูลว่า ชายวัย 32 ปี ผู้หนึ่งที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าเทอร์มินัลคอมพิมเตอร์ประมาณ 18 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาการโคม่า เนื่องจากเกิดอาการเลือดจับตัวเป็นก้อน โดยก้อนเลือดที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในบริเวณขาของเขา ก่อนที่จะแตกกระจายและเดินทางไปยังปอดทั้งสองของเขาอีกทีหนึ่ง อาการที่เรียกว่า DVT นี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีเลือดขันอยู่ในเส้นเลือดดำ ซึ่งมันจะค่อย ๆ เปลี่ยนตัวเองไปเป็นก้อนลิ่ม

โดยอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนคือ ขา จะเริ่มบวม ส่วนอาการที่อันตรายจะเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดแตกออก และเดินทางไปยังหัวใจ หรืออวัยวะภายในที่สำคัญ ๆ ซึ่งผลลัพธ์ของอาการที่เกิดขึ้นจะไม่อาจคาดเดาได้

ข้อแนะนำ

นอกจากการที่ไม่ควรนั่งทำงาน หรือเล่นคอมพิวเตอร์นานเกินไปแล้ว ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่รู้สึกว่านั่งนานเกินไปให้พยายามกระดิกนิ้วเท้า และข้อเท้า ดื่มน้ำ และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่นั่งนานควรจะลุกขึ้นและยืดขาอย่างน้อย ๆ ชั่วโมงละ 1 ครั้ง การใช้ยาแอสไฟริน ซึ่งช่วยให้เลือดไม่ข้นเกินไปก็สามารถช่วยได้เหมือนกัน การนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ในท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงบ้าง ผู้เชี่ยวชาญบางท่านยังตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ใช้โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์จะเสี่ยงต่ออาการผิดปกติที่ว่านี้เป็น 2 เท่า โดยเฉพาะผู้ที่ต้องนั่งทำงานกับโน๊ตบุ๊คในชั้นที่นั่งราคาประหยัดบนเครื่อง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก INNNEWS
http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/riskfromcomputer.htm?ID=2145

You may also like...